เปอร์เซีย…ความยิ่งใหญ่และสง่างาม

“….เปอร์เซีย เป็นแคว้นเก่าแก่ที่ใหญ่โตและโอ่อ่าสง่างาม….”

นี่คือบันทึกที่มาร์โค โปโล ระบุถึงประเทศอิหร่านในอดีตเมื่อ 765 ปีที่แล้วซึ่งใกล้เคียงยุคสุโขทัยของไทยที่มาร์โคโปโล”นักเดินทางการค้าและกองคาราวาน เขียนไว้ขณะเดินทางค้าขายตาม “เส้นทางสายไหม” จากยุโรปไปจีน ยุคคาเธ่ย์ ราชวงค์หยวนจากมองโกล

มาร์โคโปโล มาพักที่เมืองเคอร์มัน สองรอบ 9 วัน และ 5 วัน ในช่วงเดินทางเส้นทางสายไหมไปจีน เขาชอบที่นี่ที่สุด ไปโอเอซีสที่เคอร์มานถือปืนล่าสัตว์ป่าในป่าอินทผาลัม ได้นกกะทา นกแคว้ว มาย่างกิน เพราะมีสัตว์ป่ามาก ถือเป็นการพักผ่อนของชนชั้นสูงที่เสร็จจากการทำธุรกิจ

มาร์โคโปโล บันทึกไว้ว่า ที่นี่ค้าขายดีมาก กำไรก็ดี เพราะเป็นศูนย์กลางทางการค้าสำคัญของเส้นทางสายไหม

รอบ ๆ เมืองล้อมรอบด้วยภูเขา ที่มีทองแดงเป็นทรัพย์ใต้ดิน มากมาย ใช้มาทำเป็นเครื่องใช้ประจำวันด้วย

ที่นี่มี บาทเฮ้าท์”โรงอาบน้ำที่โรมันและตุรกี นำไปจากเปอร์เซีย เมื่อเติร์กเข้ามารุกรานอิหร่าน มีห้องน้ำร้อน น้ำเย็น อยู่ในห้องใต้ดินของบาทเฮ้าส์

เมืองเคอร์มันถือเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม ปัจจุบัน มีผู้คนประมาณ 2 ล้านคน และยังเป็นเมืองการค้าทางภาคตะวันออกของอิหร่าน  จากการที่มีการผ่อนคลายทางธุรกิจทำให้มีนักธุรกิจจากตุรกี จีน ญี่ปุ่นเกาหลี มาลงทุนมากขึ้น ทั้งทางด้านรถยนต์และก่อสร้างทางรถไฟของจีน

สำหรับรายได้ต่อเดือนขั้นต้น 16,000 กว่าบาทสูงกว่าไทยเล็กน้อย เมื่อรัฐบาลอิสลาม ยอมเปิดผ่อนคลายกฎที่เคร่งครัดมากขึ้น ให้ชาย-หญิง ทำงานได้ แต่ทุกอย่างต้องให้ฝ่ายศาสนา ยอมรับก่อน

เมื่อมาถึงที่นี่ เขียนไว้สั้น ๆ ง่าย ๆ ได้ใจความ คือ การได้มองเห็นภาพความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิเปอร์เซียร์ หรือ อิหร่านในปัจจุบัน

                         

ชาวอิหร่านมิใช่ชาวอาหรับ แต่เป็นชนอารยัน เชื้อสายคอเคซอยทางตอนใต้ของรัสเซีย และมีถิ่นฐานดั้งเดิมที่มีหลักแหล่งอยู่รอบทะเลสาบแคสเปียน ซึ่งแปลว่า สูงส่ง สง่างามใช้ภาษาฟาร์เชียน หรือเปอร์เชีย สืบทอดเชื้อสายตกทอดกันมา 5,000 ปี แล้วสำหรับชนชาติอิหร่านนี้

เมือ1,000 ปีก่อน ก่อตั้งอาณาจักรแห่งอารยัน ที่ เมืองแอนซานก่อนที่จะขยายอาณาจักรปกครอง 23 รัฐ เป็นอาณาจักรเปอร์เซียที่ยิ่งใหญ่  นับถือศาสนาบูชาไฟก่อนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะก์ เป็นศาสนาประจำชาติ

ชาวอิหร่านส่วนใหญ่ใจดีและมีน้ำใจ โดยเฉพาะกับคนไทยที่พบเห็น ราวกับเป็นญาติห่างไกล มาพบกันอีกครั้ง

ดินแดนอ่าวเปอร์เซียร์ นี้ มีเรื่องราวระดับโลก ให้ตามรอย อเล็กซานเดอร์มหาราช” กษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ยกทัพออกจากกรีกไปหวังครองโลก และเส้นทางสายไหม การเดินทางการค้าจากยุโรปไปจีนของ มาร์โคโปโล”นักเดินทางที่ยิ่งใหญ่ เปิดเส้นทางบกเชื่อมยุโรปกับเอเชียได้ในยุคโบราณเกือบพันปีที่ผ่านมา

เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่เชื่อมการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ระหว่างจีนไปยังยุโรป ซึ่งจีนยุคใหม่กำลังรื้อฟื้นสร้างเส้นทางสายไหมใหม่ ยุทธศาสตร์ การค้าระดับโลกอีกครั้งหนึ่ง และ สำคัญคือในยุคนี้ เส้นทางการค้าทางบกระหว่างจีนใหม่กับชาวตะวันตก มีทั้งทางถนนไฮเวย์ และ รถไฟความเร็วสูงเป็นเป้าหมายสำคัญ จะยิ่งเพิ่มความรวดเร็วกว่าทางเรือ เพราะสินค้าจากจีนถึงยุโรปภายใน 15 วันเท่านั้น ขณะที่การขนส่งทางเรือใช้เวลานับเดือน

การฟื้นเส้นทางสายไหมของจีนครั้งใหม่นี้ จึงเป็นที่หวาดหวั่นกังวลใจของชาวตะวันตกอย่างยิ่ง เกรงว่า การค้าจีนจะขยายตัวรวดเร็ว

เส้นทางทะเลทรายระหว่างเมืองยาซด์ Yazd ถึงเมืองคอร์มัน Kerman ในภาคตะวันออกของอิหร่าน มีการคมนาคม การขนส่งของกองคาราวานบนเส้นทางสายไหม เป็นศูนย์กลางการค้าเส้นทางการค้าโบราณ เชื่อมโรมีน-จีน มาร์โคโปโล ออกเดินทางจากนครเวนีส อิตาลี นำกองคาราวานการค้ามุ่งไปทางด้านตะวันออก ตามเส้นทางการค้าที่นักเดินทางผู้ใหญ่ของโลกแห่งนี้

ซึ่งมาร์โคโปโล (MarcoPolo) เคยบันทึกถึงการเดินทางรอนแรมมาแบบกองคาราวานการค้าผ่านบนเส้นทางนี้ไปถึง    คาเธ่ย์ หรือ จีนในสมัยกุบไลข่าน หลานเจงกีสข่านแห่งมองโกล ตั้งราชวงค์หยวน ปกครองจีน ที่มีกรุงปักกิ่ง เป็นเมืองหลวงตั้งแต่นั้นมา และ เส้นทางนี้เรียกว่า เส้นทางสายไหมดั้งเดิมที่มาร์โคโปโล นำกองคาราวานสินค้าผ่านเปอร์เซียไปถึงกรุงปักกิ่ง เข้าเฝ้ากุบไลข่านได้สำเร็จ

สำหรับตัวเมืองยาซด์YAZD นั้น มีลักษณะการป้องกันทรัพย์สินอย่างชาญฉลาด เริ่มจากเมืองมีทางเดินแบบสลับซับซ้อน ดั่งเช่นประตูกล ประตูเข้าเมืองแม้จะไม่ยิ่งใหญ่ มีลักษณะเล็กเช่นเดียวกับประตูบ้านเล็ก ๆ เพราะการบีบบังคับด้านกายภาพ ส่งผลให้กองคาราวาน หรือ ผู้ที่ใช้ม้าเป็นพาหนะ เมื่อมาถึงเมืองยาซ์ด “ต้องลงจากหลังม้า” ก่อนเข้าตัวเมืองที่ประตูก็เช่นเดียวกัน จะปิดทึบ ลั่นดาลภายใน มีที่เคาะประตู 2 อันเพื่อให้เปิด เสียงจากการเคาะจะแตกต่างกัน ผู้ที่มาถึงหน้าบ้านจะต้องเคาะเพื่อส่งเสียงให้คนภายในบ้านรู้ว่า ผู้ที่มาเป็นผู้หญิง หรือ ผู้ชาย เพื่อเตรียมรับมือ

นึกภาพแล้ว ช่างไม่ต่างจากกล้องวงจรปิดในปัจจุบันเลยภายในเมืองที่ซ้ำซ้อนเก่าแก่แห่งนี้ มีการบูรณะด้วยการนำดินเหนียวผสมหางมาสร้างเสริมใหม่ทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีของชาวเมือง เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง ส่วนจุดโดดเด่นอีกอย่างของเมืองเก่านี้ คือ คุกขังคนของอเล็กซานเดอร์ Alexander Prison ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ผู้ต่อต้านอำนาจกองทัพของ อเล็กซานเดอร์มหาราช จะถูกนำมา ถ่วงน้ำในบ่อ”ที่บริเวณนี้ ผู้ต่อต้านเมื่อถูกจับขัง แปลว่าจะไม่มีวันได้ออกมามีชีวิตได้อีก

ซึ่งเคยมีนักบวช 12 คน ถูกจับขังที่นี่เพราะไม่ยอมรับอำนาจกรีกที่มายึดครอง 

แต่ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นโรงเรียนสอนศาสนา เรียกว่า Davazdah Imams Dome &Ziai-Ye Schoolไปแล้ว

ด้วยความที่เป็นบ้านในเมือง และมีความแออัด ทุกบ้านจึงมี ปล่องลม”เป็นหอสูงไว้ระบายอากาศ ซึ่งด้รับยกย่องว่าภูมิปัญญาโบราณที่ชาญฉลาด ความสามารถคิด จัดการระบบน้ำใต้ดิน”จากสายน้ำโอเอซีสใต้ดินนำมาใช้ในเมืองหรือ บ้านเรือนได้ พร้อมระบบระบายอากาศรักษาคุณภาพน้ำ ไม่ให้มีกลิ่นอับชื้นได้ด้วย

ชาวอิหร่านเรียกระบบจัดการน้ำโอเอซีสใต้ดินว่า ระบบ Koushk-E-NUมี QANATที่ขุดลึกลงไป มีโดมและเสา 2-4 เสาไว้ระบายอากาศซึ่งที่ยาซด์ YAZD มี Zarch qanat ยาวที่สุดในโลก จัดการน้ำได้ถึง 71 กม.และ Hassan Abad Moshir qanat มีระบบน้ำ สามารถรักษาคุณภาพน้ำได้ดีที่สุดของโลกส่งผลให้ระบบจัดการน้ำใต้ดินในทะเลทรายของที่นี่ ได้เป็นมรดกโลกในปี 2016 ที่ผ่านมา

 คนเปอร์เชียจึงไม่หวาดหวั่นต่อสิ่งใด มีชีวิตที่น่าทึ่ง สามารถจัดการและอยู่กับธรรมชาติได้อย่างน่าทึ่ง!!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *