การออกบูธในงาน Exhibition เป็นการเริ่มต้นที่ดีของผู้ส่งออกในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตัวเองแก่สาธารณชน
และคู่ค้าเป้าหมายในต่างแดน เพราะในงานได้พบปะ เจรจา ต่อรอง จนนำไปสู่การ Matching ธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่า
เราสามารถเลือกงาน เลือกพื้นที่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่จะขยายตลาดได้อย่างเหมาะสม จึงไม่แปลกที่ตลอด
เวลา งาน Exhibition จะเป็นเครื่องมือทางการตลาดสำคัญที่ผู้ส่งออกคิดถึงเป็นอันดับแรก
แต่ในยุค Marketing 4.0 ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น หลายธุรกรรมเริ่ม
เกิดขึ้นในอากาศ เช่น การซื้อขาย การเงินการธนาคาร จึงไม่แปลกหากจะมีการจัด Exhibition ในรูปแบบออนไลน์
ขึ้นบ้าง
จินตนาการง่ายๆ เหมือนเรายกงาน Exhibition หนึ่งงาน มาให้บน Platform Online มีการจัดแบ่งพื้นที่ให้ผู้ส่งออก
แต่ละรายมาเช่าพื้นที่แสดงสินค้าเป็นโซนนิ่งต่างๆ เจ้าของ Platform จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดงาน เตรียมพื้นที่ รวมถึง
การโปรโมท ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อดึงคนมาร่วมชมงานให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ Social Media เป็น
เครื่องมือในการสื่อสารไปยังกลุ่มคู่ค้าเป้าหมาย แบบส่งตรงถึงหน้าจอมือถือ
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับงาน Exhibition เดิม ซึ่งมีทั้ง ดี-เด่น-ด้อยต่างกัน
เพราะเมื่อเราคิดจะออกบูธ เราอาจใช้เวลาล่วงหน้าหลายเดือนในการเตรียมการ เริ่มตั้งแต่จับจองพื้นที่กว่าจะถึงวัน
งาน ซึ่งจัดจริงเพียงไม่กี่วัน ยังไม่รู้ด้วยว่า จะมีจำนวนคนที่มาชมงานมากหรือน้อยแค่ไหน ยิ่งถ้าเป็นการออกบูธใน
ต่างประเทศด้วยแล้ว นอกจากจะมีค่าเช่าพื้นที่ ค่าตกแต่งบูธ เรายังต้องขนคน ขนของ ทำให้มีทั้งค่าเดินทาง ค่าที่
พัก ค่าอาหาร ค่าเงินพิเศษพนักงาน ค่าล่าม ค่าขนสินค้าและอื่นๆ อีกจิปาถะ แพงถูกต่างกันแล้วแต่ประเทศ ซึ่งแต่
ละงาน นอกจากผู้ประกอบการไทยกันเองแล้ว เราอาจต้องเจอกับผู้ประกอบการจากบางประเทศที่พร้อมจะใช้ราคา
ห้ำหั่นอย่างเอาเป็นเอาตาย
แล้ว SME รายเล็กๆ จะมีที่ยืนตรงไหนในงาน บางทีอาจเป็นแค่ตัวประกอบที่ไร้บทบาท หรือเป็นคนเหงาเฝ้าบูธจน
จบงานก็เป็นได้
ถึงตรงนี้ Online Exhibition ตอบโจทย์กว่า เพราะค่าเช่าพื้นที่ต่ำ ไม่มีค่าตกแต่งบูธ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร
ค่าโอทีพนักงาน ค่าล่ามแปลภาษา รวมไปถึงค่าขนสินค้า แถมยังไม่มีกำหนดระยะเวลาการจัดงาน และเวลาเปิด
ปิดเรียกว่า ชมงานกันเต็มๆ เป็นปี ตลอด 24 ชั่วโมง ยิ่งถ้าเป็น Online Exhibition ของคนไทยด้วยแล้ว ไม่ต้องห่วง
บูธข้างๆ จะเอาสินค้าจีนมาทุบราคาแข่งแน่นอน
บางท่านแย้งว่า เวลาออกบูธ เราได้พบปะเจรจากับคู่ค้าจริงๆ แต่ Online Exhibition ไม่สามารถทำได้
จริงอยู่..ในโลกออนไลน์เราไม่สามารถพูดคุยกับคู่ค้าตัวเป็นๆ แบบเห็นหน้าค่าตา แต่เราสามารถสนทนาเบื้องต้น
ด้วยการแชท โต้ตอบ ได้แบบเรียลไทม์เช่นกัน ทั้งตอบข้อซักถาม เพิ่มเติมข้อมูลที่คู่ค้าสนใจรวมถึงสกรีนลูกค้า
เบื้องต้นได้ที่สำคัญ ทุกอย่างเกิดขึ้นผ่านตัวหนังสืออีกต่างหาก
ส่วนข้อด้อยของ Online Exhibition คือ ไม่ได้สัมผัสสินค้าจริง ถ้าเป็นอาหารก็เรียกว่าไม่ได้ลองลิ้มชิมรส ขณะที่งาน
แสดงสินค้าทั่วไป เราได้เห็นของจริง ได้สัมผัส ได้ชิม ได้ดมกลิ่ เป็นข้อด้อยที่เหมือนกับการซื้อขายออนไลน์ ซึ่งเรา
จะไม่ได้เห็นสินค้าที่สั่ง จนกว่าจะได้รับสินค้า
แต่อย่าลืมว่า ตลาด E-commerce ที่เราไม่เห็นของเหมือนกัน กลับโตวันโตคืน อย่างในประเทศไทย เมื่อปี 2018 ที่
ผ่านมา มีมูลค่าพุ่งสูงแตะๆ 3.2 ล้านล้านเลยทีเดียว
ลองติดตามกันดูครับ ว่า Online Exhibition จะตอบโจทย์ใครได้บ้าง
Leave a Reply