จาก Gulf Standard สู่ EASM สิ่งที่ผู้ส่งออกไทยต้องรู้


จากการที่ประชากรในประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) กว่าร้อยละ 90 เป็นมุสลิม จึงมีข้อตกลงร่วมกันของทั้ง 6 ประเทศ  ในการจัดตั้ง สำนักงานมาตรฐาน สำหรับกลุ่มประเทศ GCC ที่เรียกว่า Standardization & Metrology Organization for GCC หรือ GSMO เพื่อทำหน้าที่ออกกฎระเบียบร่วมกันเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) โดยจะมีมาตรฐาน ที่เรียกว่า Gulf Standard (GS) ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานอาหารฮาลาลและการควบคุมไว้ เพื่อให้แต่ละประเทศ นำไปกำหนดเป็นมาตรฐานและกฎระเบียบนำเข้าปลีกย่อยให้เหมาะกับประเทศของตน อย่างเช่นมาตรฐานอาหารของยูเออีจะใช้มาตรฐานภายในประเทศคือ UAE Industry Standards ที่มีหน่วยงาน EASM (The Emirates Authority for Standardisation and Metrology เป็นต้น ซึ่งหน่วยงาน EASM ดังกล่าว เคยประกาศรับรองและขึ้นทะเบียนให้สำนักงานคณะ
กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย(สกอท.)เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากยูเออีตามมาตรฐาน UAE.S-2055 2014  


ผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าสู่ยูเออี มีหลากหลายช่องทาง แต่ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาผ่านทางรัฐดูไบเป็นหลัก เนื่องจากรัฐดูไบเป็นจุดในการกระจายสินค้าหลัก ดังนั้นในการนำเข้าสินค้าโดยส่วนใหญ่ในประเทศยูเออีจะอยู่ภายใต้กฎระเบียบของเทศบาลนครรัฐดูไบ (Dubai Municipality)

หลักเกณฑ์และกฎระเบียบการนำเข้าอาหารที่ผู้ส่งออกไทยควรรู้ สรุปได้ดังนี้

ภาษีนำเข้าจากราคา CIF : 

  • อาหารทั่วไป ภาษีนำเข้าร้อยละ  5 บางชนิดไม่มีภาษีนำเข้า
  • ภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกลฮอลร้อยละ 50 และบุหรี่ ร้อยละ 100
  • สินค้านำเข้าชั่วคราวเพื่อส่งออกต่อ(Re-export) ภายใน 6 เดือน ไม่เสียภาษีนำเข้า

การให้สิทธิพิเศษศุลกากร : ไม่มี

ในการนำเข้าสินค้าอาหาร ผู้นำเข้า (Importer) ต้องมีใบประกอบการนำเข้า และเป็นสมาชิกหอการค้า หรือ อุตสาหกรรม หรือกรณีเป็นสินค้าที่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศ การนำเข้าจะกระทำได้เฉพาะตัวแทนหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น หรือกรณีการนำเข้าเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกต้องมีใบรับรองการตรวจโรค(Health or Veterinary Certificate) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ต้องผ่านการฆ่าตามหลักศาสนาอิสลาม (Halal) และมีใบรับรองฮาลาล (Halal Certificate) จากประเทศผู้ส่งออก

เอกสารประกอบการนำเข้า : 

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการนำเข้าหรือเอกสารที่ใช้ในการติดต่อการค้าเป็นในลักษณะเดียวกับการติดต่อการค้าระหว่างประเทศโดยสากลและการชำระเงินทั่วไปใช้ระบบเปิด Letter of Credit (L/C) เอกสารต่อไปนี้ ต้องมาพร้อมกับทุกๆ การจัดส่งสินค้าอาหารที่เข้าสู่ประเทศ UAE และหากเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง อาจมีผลให้ส่งสินค้านั้นจะถูกปฏิเสธการนำเข้า

  • เอกสารใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) แสดงรายละเอียดของสินค้า ราคาต่อหน่วย มูลค่ารวม ชื่อที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้ส่งและผู้รับ และผู้นำเข้า อาจให้ระบุคำรับรองของผู้ผลิตว่าสินค้าดังกล่าว มิได้ผลิตหรือมีส่วนประกอบที่มาจากประเทศอิสราเอล โดยประทับตรารับรองจากหอการค้าไทยเป็นสำเนาอย่างน้อย 3 ฉบับ
  • ใบรับรองจากประเทศต้นทาง (Certificate of origin) แสดงรายละเอียดของสินค้า ชื่อ ที่อยู่ของผู้ผลิตประเทศต้นทางและประทับตรารับรองของหอการค้าไทยพร้อมทั้งมีการประทับตรารับรอง (Legalize) จากสถานทูตอาหรับในประเทศไทย(ยกเว้นสถานฑูตอียิปต์)เป็นสำเนาอย่างน้อย 3 ฉบับ
  • เอกสารใบขนสินค้า(Bill of landing) แสดงรายละเอียดของสินค้า ชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่ง ผู้ขนส่งและผู้รับ รวมทั้งค่าระวาง อย่างน้อยต้องมีต้นฉบับ 1 ฉบับ
  • เอกสารบัญชีสินค้าที่บรรจุ (Packing list) เป็นเอกสารต้นฉบับ ระบุรายละเอียดของสินค้าแต่ละหีบห่อ การบรรจุหีบห่อและจำนวนหีบห่อ
  • ใบรับรองการฆ่าสัตว์ตามกฎของศาสนาอิสลาม (Halal certificate) เป็นเอกสารต้นฉบับ สำหรับเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก (Meat and Poultry) ขอใบรับรองการฆ่า ที่ถูกวิธีตามหลักศาสนาอิสลามจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Health certificate)สำหรับการนำเข้าเนื้อสัตว์ ต้องมีใบรับรองสุขภาพสัตว์เป็นเอกสารต้นฉบับ สามารถขอใบรับรองจากกรมปศุสัตว์ สำหรับสัตว์น้ำขอการตรวจรับรองจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ใบรับรองปลอดโรคพืช(Phytosanitary Certificate)พืชต้องมีใบประกอบโรคพืชจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศต้นทาง ขอใบรับรองจากกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ฉลากอาหาร

  • ฉลาก บนบรรจุภัณฑ์ต้องมีรายละเอียด ชื่อสินค้า ส่วนผสม ขนาดบรรจุประเทศต้นทางหรือผู้ผลิต วันผลิตและวันหมดอายุ พร้อมภาษาอาราบิก  ข้อความบนฉลากอ่านง่ายชัดเจนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งนี้ข้อความต้องชัดเจนไม่บิดเบือน
  • วัน/เดือน/ปีอายุอาหาร (shelf life) ต้องมีอย่างน้อย 6 เดือน ข้อความที่พิมพ์ จะต้องไม่หลุดลอก ลบออกได้ (printed, imposed หรือ ink jetted)
  • การพิมพ์วันผลิตและหมดอายุมีดังนี้
    dd/mm/yy สำหรับอาหารที่มีอายุอาหารน้อยกว่า(shelf life) 6 เดือนและ mm/yy สำหรับอาหารที่มี shelf life มากกว่า 6 เดือน จะต้องระบุดังนี้  ข้อความอื่นๆ ที่สามารถระบุวันหมดอายุได้ คือ
    – Date of expiry
    – Good for use until …….
    – Valid for ……… from the date of production
    – Use before ………..
    – Sold up to …………

กฎระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ :

  • การนำเข้าไก่สดแช่แข็งจะต้องมีใบอนุญาตระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ประเทศผู้ส่งออกสินค้า แหล่งกำเนิดสินค้าและระบุหมายเลขชุดสินค้า batch number (และไก่ต้องปลอดจากโรคติดต่อจากฟาร์มที่มีการเฝ้าระวัง และไม่มีแพร่เชื้อใดๆ ภายในเวลา 1 ปี ก่อนเชือดสัตว์ โรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปนั้นจะต้องมีใบอนุญาตถูกต้องได้รับรองโดยกรมปศุสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานของรัฐบาลยูเออี กระทรวงสิ่งแวดล้อมและน้ำยูเออี (Ministry of Environment and Water)
  • การนำเข้าเนื้อหมูและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้โควต้าและต้องมีใบกำกับอนุญาตนำเข้าพิเศษ
  • หากใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมต้องระบุชนิดของน้ำมันที่ใช้

สินค้าที่อยู่ในข่ายจะถูกส่งคืน(Rejected)

อาหารที่ถูกตรวจทางพบว่าปนเปื้อน หรือไม่เหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค ฉลากที่มี shelf life ไม่ถูกต้อง หรืออาหารเนื้อสัตว์ที่ไม่มีเอกสารฮาลาลประกอบ จะถูกห้ามนำเข้า แต่จะอนุญาตให้ส่งออกต่อไปประเทศอื่น (นอกกลุ่ม GCC) หรือส่งคืนกลับประเทศต้นทาง หรือจะถูกทำลายทิ้ง โดยหน่วยงานสาธารณสุขยูเออี

อาหารควบคุมพิเศษ

  • อาหารเด็กเล็ก น้ำมันปรุงอาหาร(จะต้องระบุน้ำมันพืช/สัตว์) นมเนยและผลิตภัณฑ์ จะต้องผ่านการตรวจสอบตัวอย่างในห้องปฎิบัติการ laboratory analysis
  • สินค้าที่นำเข้าจะต้องส่งตัวอย่างไปตรวจสอบก่อน ระยะเวลาการตรวจสอบจะใช้เวลาประมาณ 3-4วันทำการ หลังที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจึงสามารถนำเข้าไปจำหน่ายในประเทศ


ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าอาหารของรัฐดูไบ 
สินค้าที่นำเข้าสู่ยูเออี สามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่มหลักคือ

  • สินค้าปกติ ที่ไม่ได้ เป็นสินค้าต้องห้ามหรือสินค้าควบคุมเข้มงวด
  • สินค้าต้องห้าม (Prohibition of goods) เป็นสินค้าที่ไม่อนุญาตนำเข้า ได้แก่ ยาเสพติด  ทุกชนิด ธนบัตรปลอม สิ่งพิมพ์ รูปถ่าย ภาพสีน้ำมัน ไพ่ หนังสือ นิตยสาร รูปปั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักศาสนา ศีลธรรม หรือเป็น
    เหตุแห่งการประพฤติชั่วและความไม่สงบ
  • สินค้าควบคุมเข้มงวด (Restricted Goods) เป็นสินค้าที่อนุญาตนำเข้าภายใต้สภาวะที่กำหนด โดยไม่อนุญาตให้นำเข้าหากปราศจากการอนุมัติล่วงหน้าจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน โดยอาหารทุกชนิดจัดเป็นสินค้าควบคุมเข้มงวด

และในการออกสินค้าจากท่ารับส่งสินค้า (Port) ต้องมีเอกสารต่างๆ ดังนี้

  • ใบขนขึ้นท่าเรือทางทะเล (Sea Port Bills) ผู้นำเข้าต้องมีรหัสการนำเข้า (Import Code) ที่ออกให้โดยกรมศุลกากร (Customs Department) ซึ่งจะได้รับเมื่อผู้นำเข้ายืนแบบคำร้องร่วมกับสำเนาใบอนุญาตการค้า (Trade License) ผู้นำเข้าจะได้รับอนุญาตนำเข้าสินค้าซึ่งระบุในใบอนุญาตเท่านั้น สำหรับตัวแทนออกในนามของผู้รับสินค้า ต้องมีรหัสตัวแทน (Clearing Agent’s Code) ที่ได้รับจากกรมศุลกากรซึ่งจะได้รับเมื่อยืนแบบคำร้องร่วมกับสำเนาใบอนุญาตการค้า หลังจากนั้นมีขั้นตอนสำหรับใบผ่านศุลกากร (Customs Bills) เพื่อออกสินค้า
  • ใบนำเข้า (Import Bills) ผู้รับสินค้า/ตัวแทน (Consignee/ Agent) ต้องได้รับใบสั่งให้ส่งของ (Delivery Order) จากบริษัทตัวแทนส่งของ (Shipping Agent) และนำมาแสดงต่อศุลกากรทั้งต้นฉบับและสำเนา พร้อมทั้งเอกสาร ดังต่อไปนี้
    – ต้นฉบับเอกสารใบแจ้งราคาสินค้า (Original Invoice)
    – ต้นฉบับใบรับรองประเทศต้นทาง (Original Certificate of Origin)
    – เอกสารบัญชีสินค้าที่บรรจุ (Packing List)
    – ใบขนสินค้าต้นฉบับสองแผ่น (Bill of Lading Second original)
  • วิธีการชำระค่าภาษี ได้แก่
    – เงินสด หรือ ใบสั่งจ่ายเช็ค
    – ใบประกันภาษีศุลกากรออกโดยธนาคาร
    – รับเงินของธนาคาร ถ้าชำระผ่านธนาคาร
    – เครดิตภาษีศุลกากรที่ออกแทนการประกัน
    – เงินฝากเพื่อภาษีศุลกากร

ถ้าต้นฉบับเอกสารใบแจ้งราคาส่งสินค้า (Invoice) และใบรับรอง (Certificate)สูญหาย ต้องวางค่ามัดจำ 500 Dirham (DH) โดยเงินสดหรือจ่ายเช็ค หรือ หากสำเนาเอกสารใบแจ้งราคาส่งสินค้า (Invoice) ชัดเจนไม่ต้องวางค่ามัดจำ หลังจากชำระภาษีแล้ว ผู้รับสินค้า/ตัวแทน (Consignee/ Agent) จะได้รับ ต้นฉบับใบสั่งให้ส่งของ (Delivery Order) และ ต้นฉบับและสำเนา 2 ฉบับของใบผ่านศุลกากร (Customs Bill) คืน

ใบผ่านศุลกากร (Customs Bill) จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของท่ารับสินค้าปล่อยสินค้าให้กับผู้รับสินค้า/ผู้แทน (Consignee/ Agent) โดยเจ้าหน้าที่จะเก็บต้นฉบับใบสั่งให้ส่งของ (Delivery Order) และ ต้นฉบับใบผ่านศุลกากร (Customs Bill) หลังจากส่งมอบสินค้าเสร็จแล้ว

หน่วยงานที่ต้องติดต่อ หน่วยงานของรัฐดูไบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าอาหาร ได้แก่

  • กองสาธารณสุข (Public Health Department) มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขในด้านการป้องกันโรคติดต่อและโรคติดต่อจากสัตว์ ควบคุมสัตว์รบกวน และควบคุมความปลอดภัยของอาหารและน้ำทุกแห่งใน UAE หน่วยควบคุมอาหารเป็นหน่วยงานในกองสาธารณสุข(Food Control Section-Public Health Department)ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการนำเข้าอาหารสู่รัฐดูไบ โดยเป็นผู้ตรวจสอบอาหารนำเข้า หรือ อาหารที่จำหน่ายใน UAE ซึ่งมีความรับผิดชอบหลัก ดังต่อไปนี้
    – ดำเนินแผนการตรวจสอบทุกๆ สถานที่ทำงานในด้านการผลิต การเตรียม การขาย และ การเก็บรักษาอาหาร
    – ดำเนินแผนการตรวจสอบโรงแรม ร้านอาหาร คาเฟ่ และ ซูเปอร์มาเก็ต
    – ติดตามและสุ่มตัวอย่างอย่างป็นระบบ สำหรับอาหารนำเข้าและส่งออกทุกชนิดทั้งที่ท่ารับส่งสินค้าทางเรือและอากาศ(sea and air ports)
    – ดำเนินการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับสินค้าอาหารส่งออก และ ออกใบรับรองอาหารส่งออก หรือ ใบรับรองความเหมาะสมสำหรับการบริโภค (fitness certificate)
    – จัดโปรแกรมอบรบและแผนการศึกษาสำหรับลูกจ้างในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อปรับปรุงมาตรฐานสุขลักษณะ

เทศบาลนครแต่ละรัฐ จะมีกองสุขภาพซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบบังคับใช้มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร โดยปกติในแต่ละรัฐจะมีแผนกควบคุมอาหาร (Food control division) และ ห้องปฏิบัติการสุขภาพ (Health laboratory) สำหรับ
จุดประสงค์นี้ ข้อมูลจะถูกใช้ร่วมกันระหว่างเทศบาลนครแต่การทำงานจะแยกเป็นอิสระ เช่น รัฐชาร์จาห์มีหน่วยสุขภาพ(Health Section)และห้องปฏิบัติการกลางควบคุมอาหารและให้คำแนะนำ (Central Food Control and Consultancy Laboratory) สังกัดเทศบาลนครรัฐชาร์จาห์ (Sharjah Municipality) เป็นต้น

  • กองห้องปฏิบัติการกลางรัฐดูไบ (Dubai Central Laboratory Department) มีหน้าที่รับผิดชอบการให้บริการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในด้านวัสดุทางวิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม อาหาร และ สิ่งอุปโภค (เพชรพลอย ของมีค่า โลหะ และ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน) โดยหน่วยห้องปฏิบัติการอาหารและสิ่งแวดล้อม (Food and Environment Laboratory Section) ในสังกัดของกองห้องปฏิบัติการกลางรัฐดูไบ มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
    – ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์ เคมี กายภาพ สำหรับตัวอย่างอาหาร น้ำ อากาศ และตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมอื่นที่ต้องการวิเคราะห์ รวมถึงทดสอบเพื่อตรวจระดับการแผ่รังสี
    – ปฏิบัติการทดสอบที่จำเพาะในตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพื่อตรวจสอบสำหรับสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต (growth hormones) และ สารพิษจากเชื้อรา (fungal toxins)
    – ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบสิ่งปลอมปนในอาหาร เพื่อการ     ปกป้องผู้บริโภคจากการจำหน่ายอาหารปลอมปน
    – รับตัวอย่างอาหารและสิ่งแวดล้อมจากเทศบาลรัฐอื่นๆในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่ร้องขอ
  • กองท่ารับส่งสินค้าและศุลกากร (Department of Port and Customs) มีหน้าที่ดำเนินการด้านพิธีศุลกากร ให้เป็นไปตามข้อบังคับศุลกากร(Custom Ordinance)โดยภาษีศุลกากรคำนวณจากราคา C.I.F ที่อัตราร้อยละ 4 การนำเข้าเครื่องดื่มมึนเมา(Intoxicating liquors) ทุกชนิด คิดอัตราภาษีศุลกากรร้อยละ 50 ของราคา C.I.F ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ (Tobacco Products) คิดอัตราภาษีร้อยละ 100 ของค่า C.I.F สำหรับอาหารได้รับการยกเว้นภาษี แต่ละรัฐจะมีหน่วยงานศุลกากรดำเนินการ ภายใต้กำหนดของคณะกรรมการแห่งชาติด้านภาษีและนโยบายทั่วไป นอกจากนี้กองท่ารับส่งสินค้าและศุลกากรการรัฐดูไบมีหน้าที่ควบคุมการรับส่งสินค้า ณ ท่ารับส่งสินค้าด้วยกฎระเบียบของเทศบาลนครรัฐดูไบได้กำหนดว่าเมื่อสินค้าอาหารมาถึงท่ารับส่งสินค้ารัฐดูไบ (Dubai port) สินค้าจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรซึ่งกองท่ารับส่งสินค้าและศุลกากร (Department of Port and Customs) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้นำเข้าจะได้รับใบผ่านศุลกากร (Custom Bill)เพื่อใช้ประกอบการออกสินค้านั้น จากนั้นสินค้าอาหารจะได้ถูกตรวจสอบจากหน่วยควบคุมอาหารกองสาธารณสุข (Food Control Section-Public Health Department)โดยสินค้าอาหารทุกประเภทจะถูก  ตรวจสอบทางกายภาพโดยที่ไม่มีข้อยกเว้น และบางกรณีสินค้าอาจถูกสุ่มตรวจ เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยกองห้องปฏิบัติการกลางรัฐดูไบ


Photo by chuttersnap on Unsplash

Share

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *